บทความรู้


สายพันธุ์มะพร้าว

พันธุ์เศรษฐกิจที่เพาะปลูกในประเทศไทย มีอยู่ ๒ สายพันธุ์ คือ พันธ์ต้นสูง (tall coconut) และพันธุ์ต้นเตี้ย (dwarf coconut)



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ สายพันธุ์มะพร้าว ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามะพร้าวมีถิ่นกำเนิดมาจากที่ไหน แต่ส่วนใหญ่มะพร้าวจะเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคในประเทศเขตร้อน และกึ่งร้อน แม้ว่า ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศอันดับหนึ่งในการผลิตมะพร้าวเหมือนอย่างอินโดนีเซีย แต่มะพร้าวก็เป็นพืชเศรษฐกิจของไทย เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานและนำมาใช้ประโยชน์กันมากสำหรับคนไทย สายพันธุ์มะพร้าว มีอยู่ไม่น้อย เช่น มะพร้าวไฟ มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวทะเล มะพร้าวซอ มะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย มะพร้าวพวงร้อย มะพร้าวกะทิ มะพร้าวพวงทอง มะพร้าวสีสุก มะพร้าวพันธุ์สวี มะพร้าวพันธุ์ชุมพร มะพร้าวพันธุ์ก้นจีบหรือพันธุ์อ่างทอง มะพร้าวน้ำหอมสามพราน มะพร้าวพันธุ์หมูสีเขียว การที่มีหลาย สายพันธุ์มะพร้าว ในประเทศไทย เนื่องจากมะพร้าวเป็นพืชผสมข้ามพันธุ์ แต่ละต้นไม่เป็นพันธุ์แท้ อาศัยหลักทางการผสมพันธุ์ที่เป็นไปโดยธรรมชาติ มะพร้าว มีลักษณะคล้ายต้นปาล์ม เพราะเป็นไม้ยืนต้นในตระกูลปาล์มนั่นเอง มะพร้าวมีรากฝอยขนาดเท่าๆ กัน แผ่กระจายออกรอบต้น ลักษณะใบจะเหมือนขนนก แต่ละท้องถิ่นของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการนำมะพร้าวมาใช้เป็นสมุนไพร ด้วยสรรพคุณทางยาที่มีมากมาย (ติดตามบทความ มะพร้าว เพื่อศึกษาสรรพคุณของมะพร้าว และประโยชน์ พร้อมทั้งวิธีใช้ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากมะพร้าวได้ถูกต้อง) หลายท้องถิ่นเรียกมะพร้าวต่างไป เช่น จันทบุรี เรียกมะพร้าวว่า ดุง, กาญจนบุรี เรียกมะพร้าวว่า โพล, แม่ฮ่องสอน เรียกมะพร้าวว่า คอส่า บางท้องถิ่น เรียก หมากอุ๋น, หมากอูน หรือ เอี่ยจี้ เป็นต้น การแบ่ง สายพันธุ์มะพร้าว โดยการพิจารณาลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ การเจริญเติบโตของลำต้น, อายุที่มะพร้าวเริ่มตกผล และลักษณะการบานของดอก แบ่งได้ดังนี้

  1. พันธุ์ต้นสูง (Tall coconut)


    หรือที่รู้จักกันดีว่า "มะพร้าวแกง" เป็นพันธุ์ที่มีต้นสูงใหญ่ อยู่ในกลุ่มพันธุ์มะพร้าวผลใหญ่ ออกผลช้า ลำต้นอวบอ้วนมีสะโพก (bole) โดยมีสะโพกที่โคนต้น อายุยืนถึง ๑๐๐ ปี มีการผสมข้ามพันธุ์ คือ เกสรเพศเมียและเพศผู้บานไม่พร้อมกัน ต้องใช้เกสรต้นอื่นช่วยผสม เป็นเหตุให้ผลไม่ค่อยดก ผลกลมขนาดใหญ่ เปลือกหนา มีหลายสี ปัจจุบันศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตร ได้พัฒนาพันธุ์จนได้พันธุ์เนื้อหนา ผลโตและดก เพาะปลูก ๗-๑๐ ปี ก็ให้ผลผลิต พันธุ์ต้นสูงนี้มีการปลูกกันมาก ในภาคใต้ของประเทศไทย

    ลักษณะทั่วไป—ต้นเตี้ย เล็ก โคนต้นไม่มีสะโพก ลำต้นสูงได้เต็มที่ประมาณ 12 เมตร ทางใบสั้น
    คุณสมบัติเด่น—เนื้อผลอ่อนนุ่ม รสหวาน บางพันธุ์มีกลิ่นหอม ส่วนใหญ่นิยมรับประทานผลอ่อนที่อายุผลประมาณ 4 เดือนให้ผลดก และเร็ว ไม่ค่อยกลายพันธุ์เพราะผสมเกสรภายในต้นเดียวกันเองได้ ถ้ามีการดูแลปานกลางจะเริ่มให้ผลเมื่ออายุ 3-4 ปี ให้ผลผลิตประมาณ 35-40 ปี มะพร้าวประเภทต้นเตี้ยมีหลายพันธุ์ แต่ละพันธุ์มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น เปลือกสีเขียวเหลือง นวล (สีงาช้าง) น้ำตาลแดง หรือสีส้ม น้ำมีรสหวาน มีกลิ่นหอม มะพร้าวต้นเตี้ยทุกพันธุ์จะมีผลขนาดเล็ก เมื่อผลแก่มีเนื้อบางและน้อย ซึ่งได้แก่พันธุ์ นกคุ่ม หมูสีเขียว หมูสีเหลือง หรือนาฬิเก มะพร้าวเตี้ย น้ำหอม และมะพร้าวไฟ แต่ปัจจุบันมะพร้าวน้ำหอมกำลังเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้ในการบริโภคสดและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ตลอดจนใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม


  2. พันธุ์ต้นเตี้ย (Dwarf coconut) 


    เป็นสายพันธุ์ในกลุ่มมะพร้าวที่มีลำต้นขนาดเล็กเตี้ยสั้น ผลดกและออกผลเร็ว อายุเพียง ๒ ปีครึ่ง -๓ ปี ก็เริ่มให้ผลผลิต โดยเก็บเกี่ยวได้จนมีอายุถึง ๔๐ ปี เป็นไม้ผลพื้นเมืองของไทยในกลุ่มมะพร้าวหมูสี ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีหลากสี เช่น สีเขียว สีเหลือง สีส้ม สีแดง ผลมีขนาดเล็กแต่ดก ใน ๑ ทะลาย (ดอกที่ติดผล) มีผล ๑๐-๓๐ ผล และใน ๑ ปี จะออกผล ๑-๑๕ ทะลาย บางชนิดน้ำมะพร้าวมีรสหวาน หอม และมีเนื้ออ่อนนุ่ม หวานมัน โดยเฉพาะพันธุ์ต้นเตี้ยสีเขียวที่ชาวสวนได้พัฒนามาเป็น "มะพร้าวน้ำหอม" ซึ่งเป็นมะพร้าวพันธุ์เศรษฐกิจของประเทศไทยที่มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี และเกษตรกรชาวสวน นิยมปลูกกันมากที่สุดในพื้นที่ภาคกลาง บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ท่าจีน บางปะกง โดยเพาะปลูกในระบบสวน ในจังหวัดราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และจังหวัดใกล้เคียง

    ลักษณะทั่วไป—ต้นสูงใหญ่ โคนต้นมีสะโพก ลำต้นมีความสูงได้ถึง 20 เมตร ทางใบใหญ่และยาว แต่จะผสมเกสรข้ามสายพันธุ์เพราะดอกตัวผู้จะค่อยๆ บานและร่วงหมดก่อนตัวเมีย จึงผสมเกสรภายในต้นเดียวกันเองไม่ได้
    คุณสมบัติเด่น—ผลใหญ่ เนื้อหนาและมีปริมาณมาก เป็นมะพร้าวเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ปลูกเป็นอาชีพ ใช้เนื้อจากผลแก่ในการประกอบอาหาร หรือเพื่อทำมะพร้าวแห้งใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันพืช ถ้ามีการดูแลปานกลางจะเริ่มให้ผลเมื่ออายุ 5-6 ปี อายุยืนให้ผลผลิตนานประมาณ 80 ปี บางพันธุ์เปลือกมีลักษณะพิเศษ คือ ในขณะที่ผลยังไม่แก่ เปลือกตอนส่วนหัวจะมีรสหวานใช้รับประทานได้ จึงมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน ได้แก่พันธุ์กะโหลก มะพร้าวใหญ่ มะพร้าวกลาง ปากจก ทะลายร้อย เปลือกหวาน และ มะแพร้ว มะพร้าวพันธุ์ลูกผสมแม้ว่ามะพร้าวพื้นเมืองที่เกษตรกรปลูกกันมาแต่ดั้งเดิม จะมีลักษณะดีหลายอย่าง เช่น มีขนาดผลค่อนข้างโต และทนทานต่อสภาพอากาศแล้งได้ดี แต่ในวงการอุตสาหกรรมมะพร้าวในปัจจุบันได้พัฒนาทางด้านคุณภาพมะพร้าวมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณเปอร์เซ็นต์น้ำมัน


  3. พันธุ์เบ็ดเตล็ด


    เช่น พันธุ์เปลือกนิ่ม ก้นจุก กะทิ ตาล ทะนาน มะแพร้ว (เป็นชื่อเรียกเฉพาะ ติดตามรายละเอียดในบทความ มะแพร้ว)
    พันธุ์ลูกผสมของกรมวิชาการเกษตร
    ศูนย์วิจัยพืชสวนสวี จังหวัดชุมพร กรมวิชาการเกษตรมีหน้าที่รับผิดชอบด้านวิจัยและพัฒนามะพร้าวได้ผลิตมะพร้าวพันธุ์ลูกผสม เพื่อแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพที่ไม่สม่ำเสมอ ผลผลิตต่ำในมะพร้าว มะพร้าวลูกผสมที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น เนื้อมะพร้าวหนา เปอร์เซ็นต์น้ำมันมาก ซึ่งได้ผ่านการรับรองพันธุ์ออกมาแล้ว 2 พันธุ์ ดังนี้
    พันธุ์สวีลูกผสม 1  เกิดจากการผสมระหว่างมะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย กับ พันธุ์เวสท์อัฟฟริกันต้น
    ลักษณะเด่น—คือมีอายุการตกผลเร็ว สามารถเก็บผลผลิตได้ในปีที่ 5 ผลผลิตเฉลี่ยแล้วเกือบ 3 พันผลต่อไร่ หรือคิดเป็นน้ำหนักแห้ง 566 กก.ต่อไร่ จากจำนวนมะพร้าว 22 ต้นต่อไร่ เนื้อมะพร้าวแห้งมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงถึง 64 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นมะพร้าวที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าวมาก
    พันธุ์ชุมพรลูกผสม 60-1 เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์เวสท์อัฟฟริกันต้นสูง กับ พันธุ์ไทยต้นสูง ผลิตขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ทั้งบริโภคผลสด และด้านอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว
    ลักษณะทางการเกษตร—สามารถเก็บผลผลิตได้ในปีที่ 5 หลังจากปลูก ขนาดผลมีตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลผลิตเฉลี่ย 2,257 ผลต่อไร่ หรือคิดเป็นน้ำหนักมะพร้าวแห้งสูงถึง 628 กก.ต่อไร่ เนื้อมะพร้าวแห้งมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง 63 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากขนาดผลของมะพร้าวพันธุ์นี้ค่อนข้างโตกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 จึงสามารถจำหน่ายได้ทั้งผลสดและในรูปมะพร้าวแห้งส่งโรงงานสกัดน้ำมัน มะพร้าวลูกผสมทั้ง 2 พันธุ์ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองเกือบ 2 เท่า กล่าวคือ พันธุ์ไทยให้ผลผลิต 1,084 ผลต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตเนื้อมะพร้าวแห้ง 374 กก.ต่อไร่ และมีปริมาณเปอร์เซ็นต์น้ำมัน 59-60 เปอร์เซ็นต์
    ลักษณะเด่น—ให้ผลเร็ว ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ไม่ปรากฏว่าเป็นโรคและแมลงศัตรูมะพร้าวระบาดอย่างรุนแรง ตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี
    ข้อจำกัด—เป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 ไม่สามารถนำผลไปปลูกต่อได้
    พันธุ์ชุมพรลูกผสม 2 เป็นการนำพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย มาผสมกับพันธุ์ไทยต้นสูง มีผลขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สามารถจำหน่ายได้ทั้งแบบผลสดและแปรรูปในอุตสาหกรรมน้ำมัน และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ได้รับการรับรองพันธุ์เมื่อปี พ.ศ. 2538
    ลักษณะทางการเกษตร—ให้เนื้อมะพร้าวแห้งได้ 500 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อปี มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันประมาณ 66 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลเร็ว เริ่มเก็บผลผลิตได้เมื่ออายุ 4 ปีครึ่ง ผลผลิตโดยเฉลี่ย 1,800 ผล ต่อไร่ ต่อปี ทรงผลค่อนข้างกลม มีสีน้ำตาลอมเขียว ทนแล้งพอสมควร
    มะพร้าวลูกผสมกะทิพันธุ์ชุมพร 84-1 ให้ผลผลิตรวม 3 ปี แรก 3,378 ผล ต่อไร่ เป็นมะพร้าวกะทิไม่น้อยกว่า ร้อยละ 18 ให้ผลผลิตเร็วโดยต้นแรกออกจั่นเมื่ออายุ 2 ปี 5 เดือน และต้นมะพร้าวครึ่งหนึ่งออกจั่นเมื่ออายุ 2 ปี 5 เดือน อีกครึ่งหนึ่งของสวนออกจั่นเมื่ออายุ 3 ปี 1 เดือน และให้ผลผลิตเมื่อทะลายแรกสูงจากพื้นดิน 73 เซนติเมตร
    มะพร้าวลูกผสมกะทิพันธุ์ชุมพร 84-2 ต้นมะพร้าวร้อยละ 55 ของสวนให้ผลผลิตเป็นมะพร้าวกะทิร้อยละ 25 และเป็นมะพร้าวกะทิที่มีกลิ่นหอมร้อยละ 1.5 ให้ผลผลิตรวม 3 ปีแรก 1,917 ผล ต่อไร่ เป็นมะพร้าวกะทิไม่น้อยกว่าร้อยละ 18 ต้นแรกออกจั่นเมื่ออายุ 2 ปี 5 เดือน และต้นมะพร้าวครึ่งหนึ่งของสวนออกจั่นเมื่ออายุ 3 ปี 3 เดือน และให้ผลผลิตเมื่อทะลายแรกสูงจากพื้นดิน 71 เซนติเมตร













Copyright © 2017 All Right Reserved coconothailand.com

บริษัทรับทำเว็บไซต์ Design By cw.in.th